พจน์ สารสิน (25 มีนาคม พ.ศ. 2448 - 28 กันยายน พ.ศ. 2543) นายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของประเทศไทย, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่ภายหลังได้ลาออกเนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลเกี่ยวกับการรับรองรัฐบาลเบาได๋ แห่งเวียดนามใต้ และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา
พจน์ สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2448 ที่บ้านพักถนนสุรศักดิ์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ พระยาสารสินสวามิภักดิ (เทียนฮี้ สารสิน) กับคุณหญิงสุ่น สมรสกับคุณหญิงศิริ สารสิน ศึกษาที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อกลับสู่ประเทศไทยเข้าเรียนวิชากฎหมาย จนสอบได้เนติบัณฑิตไทยเมื่อปี พ.ศ. 2472 และศึกษาวิชากฎหมายในประเทศอังกฤษ
โดยที่บิดา คือพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้; จีน: ???) นั้นเป็นแพทย์ชาวจีนอพยพเชื้อสายไหหลำที่เดินทางมาอาศัยยังประเทศไทยตั้งแต่ราว พ.ศ. 2443 และรับราชการเป็นแพทย์หลวงประจำราชสำนัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตระกูลสารสินถือเป็นตระกูลนักธุรกิจที่มั่งคั่งและมีชื่อเสียงตระกูลหนึ่ง และมีสายสัมพันธ์อันดีกับทางราชการมาโดยตลอด
พจน์ สารสิน สมรสกับท่านผู้หญิง สิริ สารสิน (สกุลเดิม: โชติกเสถียร) มีบุตรธิดารวมกันทั้งหมด 5 คน โดยที่บุตรชาย 2 คนแรก คือ พงส์ สารสิน เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง และพลตำรวจเอก เภา สารสิน เป็นอดีตอธิบดีกรมตำรวจ, บุตรชายคนที่ 3 บัณฑิต บุญยะปาณะ เป็นอดีตปลัดกระทรวงการคลัง และอาสา สารสิน เป็นอดีตราชเลขาธิการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พจน์ สารสิน เริ่มบทบาททางการเมืองด้วยการสนับสนุนของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2490 และเข้าร่วมรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี พ.ศ. 2491 และต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่ภายหลังได้ลาออกเนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลเกี่ยวกับการรับรองรัฐบาลเบาได๋ แห่งเวียดนามใต้
ระหว่างปี พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและทำหน้าที่ผู้แทนของประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.)
พจน์ สารสิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 หลังจากการทำรัฐประหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภารกิจสำคัญของรัฐบาลคือจะต้องเร่งจัดการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้บริสุทธิ์และยุติธรรมอันเป็นสิ่งที่ประชาชนเรียกร้อง และเป็นเหตุผลที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้เป็นข้ออ้างในการ ยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดเก่า หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว พจน์ สารสิน ก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ส.ป.อ. ตามเดิม หลังชีวิตราชการท่านพำนักอยู่ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร และยุติบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิง จนถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2543 รวมอายุได้ 95 ปีเศษ
(รัฐมนตรีช่วย) ประภาส จารุเสถียร • สุนทร หงส์ลดารมภ์ • ถนัด คอมันตร์ • บุญชนะ อัตถากร • พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) • หม่อมหลวงชูชาติ กำภู • บุญรอด บิณฑสันต์